วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อาณาจักรไบแซนไทน์หรือไบแซนทิอุม



จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือไบแซนทิอุม
(อังกฤษ: Byzantine Empire หรือ Byzantium, กรีก: Βασιλεία των Ρωμαίων)
 เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน ค.ศ. 1453 ในสมัยที่ยังมีจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่นั้น จักรวรรดิเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกำลังทหารแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป

จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์คือจักรวรรดิของชาวกรีก เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของภาษากรีก วัฒนธรรมกรีกและประชากรเชื้อสายกรีก แต่ประชาชนของจักรวรรดิเองนั้น มองจักรวรรดิของตนว่าเป็นเพียงจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิโรมันสืบทอดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องกันเท่านั้น

การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 849-880) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น "โรมใหม่" ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 922-938) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสววรคตใน พ.ศ. 938 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น "อย่างแท้จริง" เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูสซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเศก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสถานะของจักรวรรดินั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินจะสถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันใน พ.ศ. 873 ก็ตาม ในตอนนั้นก็ได้มีการแปลงสภาพวัฒนธรรมจากโรมันเป็นกรีก รวมถึงการเปิดรับคริสต์ศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปแล้ว

การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี พ.ศ. 1996 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
อิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1500. กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมัชปาหิต คือ ฮะยัม วูรุค (Hayam Wuruk) ครองราชย์ ในช่วง ค.ศ. 1350 - 1389 นับเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรแห่งนี้ โดยได้ขยายอำนาจไปทั่วแหลมมลายูตอนใต้ บอร์เนียว สุมาตรา บาหลี และฟิลิปปินส์
มัชปาหิตนั้น เป็นอาณาจักรฮินดูแห่งสุดท้ายในหมู่เกาะมาเลย์ ก่อนนี้มีอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเชื่อว่ามีที่ตั้งอยู่ในปาเลมบัง บนเกาะสุมาตรา
ผู้สถาปนาอาณาจักรมัชปาหิต ก็คือ การ์ตะราชะสา (Kertarajasa) หรือ ระเด่นวิชัย ลูกเขยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน หลังจากสิงหสารีแผ่อำนาจกว้างไกลจนกลุ่มศรีวิชัยต้องถอยออกไปจากเกาะชวา ใน ค.ศ. 1290 อำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่กุบไลข่านในจีน ซึ่งได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ในเวลานั้นการ์ตะนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องราชบรรณาการ กุบไลข่านจึงส่งกองเรือถึง 1,000 ลำมาประชิดชายฝั่งชวา ในปี ค.ศ. 1293


วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

อาณาจักรทวารวดี




ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2427 โดยนายแซมมวล บีล (อังกฤษ: Samuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี (อังกฤษ: Tolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (อังกฤษ: Hiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (อังกฤษ: Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (อังกฤษ: Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย

ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (อังกฤษ: Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (อังกฤษ: Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (อังกฤษ: Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (อังกฤษ: Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16

อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน